วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปฏิทินไทย ปฏิทินสุวรรณภูมิ

ปีจันทรคติและปีสุริยคติ เดือนพระจันทร์ คือ ระยะระหว่างวันเพ็ญถึงวันเพ็ญถัดไป หรือระยะระหว่างวันดับถึงวัน ดับถัดไป ซึ่งกินเวลา 29.530588 วัน ดังนั้น 12 เดือนจันทรคติคือ 12 x 29.530588 = 354.367056 วัน Equinox เวลาทีพระอาทิตย์ข้ามเส้นศูนย์สูตรจะทำให้ทั่วโลกมีกลางวันและกลางคืนเท่ากัน

ถ้าเกิดในฤดูใบไม้ผลิเรียกว่า Vernal Equinox (21 มีนาคม)

ถ้าเกิดในฤดูใบไม้ร่วงเรียกว่า Autumnal Equinox (22 กันยายน)

ปีสุริยคติ (Solar year) คือ ระยะเวลาที่พระอาทิตย์ใช้ในการเดินทาง (ที่ปรากฏต่อโลก)

ผ่านจาก Vernal Equinox กลับมาที่ Vernal Equinox อีกครั้ง ซึ่งยาว 365.25636 วัน
ความต่างระหว่างปีสุริยคติและปีจันทรคติ คือ

365.25636 - 354.367056 = 10.875143 วันต่อปี

ในรอบ 3 ปี ความต่างจะเป็น 3 x 10.875143 = 32.62549 วัน

ซึ่งมากกว่า 1 เดือน นั่นเป็นเหตุผลทำไมต้องมีการปรับปฏิทินจันทรคติ ตาม ปฏิทินสุริยคติ (ฤดูกาลจตรงตามปฏิทินสุริยคติ)
ปฏิทิน

ปฏิทิน คือ ระบบที่แบ่งเวลาออกเป็นช่วงที่ง่ายต่อการใช้ คือ วัน เดือน และปีบรรดาปฏิทินที่เก่าแก่ที่สุดจะใช้เดือนและปีจันทรคติ (ง่ายต่อการสังเกต) และส่วนใหญ่จะมีการปรับกับปีสุริคติ (ยกเว้นบางปฏิทิน เช่น ปฏิทินฮินดูและปฏิทินจีน ซึ่งจะปรับกับปีดาว)ปฏิทินที่มีการใช้งานอยู่ในชีวิตประจำวันในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริงมีเพียงปฏิทินมุสลิม (Moslem Calendar)

ปฏิทินสุวรรณ ภูมิ


ปัจจุบันมีการใช้อย่างเป็นทางการสำหรับพุทธศาสนาในประเทศไทย และถูกใช้ในพุทธ ศาสนาอย่างไม่เป็นทางการ ในกัมพูชา ลาว พม่า และเมือง Xishuangbanna ในจีน
  • ปฏิทินสุวรรณภูมิใช้เดือนจันทรคติและปีจันทรคติ โดยปรับกับปีสุริยคติ
  • ในเดือนคี่ (เดือน 1, 3, 5, 7, 9, 11) ของปีจะมี 29 วัน - วันขึ้น 1-15 ค่ำ วันแรม 1-14 ค่ำ

    ในเดือนคู่ (เดือน 2, 4, 6, 8, 10, 12) ของปีจะมี 30 วัน - วันขึ้น 1-15 ค่ำ วันแรม 1-15 ค่ำ “เดือนคี่ดับคู่ เดือนคู่ดับคี่”

    วันพระหรือธรรมสวนะ มี 4 ครั้งต่อเดือน คือ ขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และแรมสุดท้ายของเดือน
  • โดยเฉลี่ย แต่ละเดือนจะมี 29.5 วัน ซึ่งสั้นกว่าเดือนจันทรคติจริงเป็นระยะเวลา 29.530588-29.5 = 0.030588 วันต่อเดือนหรือเป็น 0.030588x33 = 1.009404 วันต่อ 33 เดือน

    นี่คือเหตุผลว่าทำไมวันเพ็ญและวันดับส่วนใหญ่ในปฏิทินสุวรรณภูมิถึงได้เกิด ก่อนวันเพ็ญและวันดับบนท้องฟ้า
  • เราได้ใช้สูตรการคำนวณในคัมภีร์สุริยยาส (ถือตามสุรยคติ) ใช้มานานนับพันปี เพื่อมาทำให้การคำนวณถูกต้องมากยิ่งขึ้น
  • ในรอบ 19 ปี 7 ปี จะมี 13 เดือน (ปีที่1, 4, 7, 10, 12, 15, 18) เรียกว่า ปีอธิกมาส  12 ปี จะมี 12 เดือน เรียกว่า ปีปกติมาส  อธิก = เพิ่ม มาส = เดือน ปีอธิมาสจะมีเดือน 8 สองหน โดยนับเดือน 8 หนที่สอง เป็นเดือนแปดหลัก เช่น วันอาสาฬหบูชา สูตรหาปีอธิกมาส คือ 3332332 รอบ 19 ปีนี้ไม่ได้มีเฉพาะในปฏิทินสุวรรณภูมิ
  • ปีปกติมาส มี 2 ประเภท คือ

    * ปกติวาร เดือน 7 มี 29 วันตามปกติ
    * อธิกวาร เดือน 7 มี 30 วัน โดยเพิ่มแรม 15 ค่ำ ()
  • ในปีอธิกวาร ได้เพิ่มเดือนวันในเดือน 7 เพื่อปรับให้วันเพ็ญเดือน 8 ถูกต้อง (ตรงกับวันที่พระจันทร์เต็มดวง) ซึ่งจะทำให้วันเข้าพรรษาถูกต้อง เพราะชาวล้านนาต้องดำนาก่อนเข้าพรรษา ถ้าดำนาหลังเข้าพรรษาสักสองอาทิตย์จะพบว่าเม็ดข้าวจะลีบ สรุปว่าเหตุที่เรา เติมเดือน 8 (ไม่ใช่เดือนอื่น) ก็เพราะเราทำนา
  • ปฏิทินจันทรคติของทุกชาติ รวมทั้งชาวยิว จะมีปีที่มี 13 เดือน แต่วิธีการจะต่างกันขึ้นกับ ความเป็นอยู่
  • จีนและอินเดียจะเทียบปีจันทรคติกับปีดาว เพราะมีพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นละติจูดที่ 23.5 N ทำให้ไม่เห็นพระอาทิตย์ตั้งฉากทุกพื้นที่ ดังนั้นการใช้ดาวสื่อสารกันจึงง่ายกว่า มีแต่สอง ชาตินี้ใช้คนละจักรราศรี ไทยใช้ดาวไม่ได้เพราะมีฤดูฝนถึง 6 เดือน
  • จำนวนวันในแต่ละปีของจีนและอินเดียมีหลากหลายมาก แต่ของไทยนั้นมีไม่กี่แบบ ของ ไทย classic เก่าแก่ โบราณ ของจีนและอินเดียได้พัฒนาโดยใช้ดาวช่วย
  • ปฏิทินจันทรคติของจีนกับอินเดียไม่มีปีอธิกวาร เพราะจีนและอินเดียนับเดือนตรงกับ ความเป็นจริงบนท้องฟ้า แต่ปฏิทินจันทรคติไทยใช้สูตรให้ 1 เดือนมี 29.5 วัน ซึ่งจะขาดไปจากความเป็นจริงเดือนละ 0.030588 วัน เมื่อครบ 33 เดือน (ราว 3 ปี) จะขาดไปประมาณ 1 วัน
  • เดิมสุโขทัยก็ใช้จุลศักราช (ตั้งแต่พ.ศ. 1182) โดยคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาส ซึ่งยังใช้คัมภีร์สุริยาสสำหรับปฏิทินสุริยคติอยู่จนถึงปัจจุบัน เมื่อใช้นานเข้าก็ พบว่าฤดูกาลผิดพลาด ก็มีการปรับกันหลายครั้ง ที่ชัดเจนคือสมัยพญาลิไท มี การปรับฤกษ์ปรับยามวางตำแหน่งดาวใหม่
  • การปรับครั้งที่สอง พระเจ้าประสาททองใช้เสาชิงช้ามาตรวจสอบพระอาทิตย์ และพระจันทร์มีที่กรุงเทพฯ และนครศรีธรรมราช
  • ในสมัยพระนารายณ์มหาราชได้ย้ายวันปีใหม่มาเป็นวันสงกรานต์แต่เดิม เปลี่ยนวันสิ้นปีคือวันลอยกระทง (เพ็ญเดือน 12) และวันปีใหม่คือวันถัดไป
  • รัชกาลที่ 4 ได้จัดทำปฏิทินจันทรคติไทยให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นซึ่งวันเพ็ญ จะถูกต้องยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม ปัจจุบันก็มีใช้ในพระธรรมยุติกาย เช่น วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันปฏิทินจันทรคติไทยก็ยังคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาสเช่นเดิม (รวมสำนักพระราชวังด้วย)
  • คนโบราณใช้พระจันทร์เป็นตัวนัดหมาย

    เพ็ญเดือน 12 ปลายฝนต้นหนาว
    เพ็ญเดือน 3 ปลายหนาวเข้าร้อน
    เพ็ญเดือน 6 ร้อนเข้าฝน
    เพ็ญเดือน 8 เข้าฝนชุก
  • คนสมัยก่อนรู้จักสูตร 3332332 หรือไม่ ?

    ไม่รู้แต่รู้ว่าวันเพ็ญเดือน 12, 3 และ 6 ถือเป็นวันสิ้นสุดฤดูกาล เมื่อถึงเพ็ญ เหล่านั้นแล้วฤดูกาลยังไม่เปลี่ยนก็จะเติมเดือน 8 อีกครั้งเพื่อให้ฤดูกาลถูกต้อง การดูฤดูกาลก็จะดูผลิของดอกไม้เช่น ถ้าดอกปีดอกฉัตรแก้วยังไม่ออกในเพ็ญเดือนแปดก็ให้ เติมเดือนแปด ขมุจะใช้ออกสาบเสือด้วย ส่วนลั๊วะพัฒนาสูงโดยมีหลายดอกให้สังเกต


    การปรับปฏิทินสุวรรณภูมิกับสุรยคติ
  • การปรับปฏิทินสุวรรณภูมินั้นตั้งใจให้แต่ละเดือนอยู่ในฤดูกาลเดียวกันทุกปี นั่นคือ
  • วันสิ้นสุดของเดือนแรก (แรม 14 ค่ำเดือน 1) จะอยู่กลางฤดูหนาว
  • ข้างแรมของเดือน 5 อยู่กลางฤดูร้อน
  • ข้างแรมของเดือน 6 เป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูฝน
  • ข้างแรมของเดือน 8 เป็นวันเริ่มต้นของช่วงฝนชุก
  • ข้างแรมของเดือน 12 เป็นการสิ้นสุดของหน้าฝนและเริ่มต้นฤดูหนาว
    เงื่อนไขข้างต้นจะเกิดขึ้นเมื่อวันเพ็ญและวันดับเกิดสอดคล้องกับเงื่อนไขต่อไปนี้

    ก1) วันดับของเดือน (วันสุดท้ายของเดือน) ของเดือนแรก จะเป็นวันดับเดือนแรก หลัง South Solstice (22 ธันวาคม)

    ก2) วันดับของเดือนที่ 4 ต้องเป็นวันดับหลังจาก Vernal Equinox (21 มีนาคม)

    ก3) วันเพ็ญเดือน 8 ต้องเป็นวันเพ็ญแรกหลัง North Solstice และต้องเกิดหลังจาก

    North Solstice อย่างน้อย 11 วัน (หลัง 2 กรกฎาคม)

    South Solstice คือ วันที่แสงพระอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นผิวโลกที่ tropic of Cancer 23.5 S
    North Solstice คือ วันที่แสงพระอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นผิวโลกที่ tropic of Cancer 23.5 S
  • สัญญาณที่บอกล่วงหน้าว่าเงื่อนไขดังกล่าวจะขัดแย้งในบางปีก็คือ

    ข1) วันเพ็ญเดือน 12 เกิดก่อนวันที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากที่ 11.75 S (ก่อน 9 พฤศจิกายน)

    ข2) วันดับของเดือน 4 เกิดก่อนหรือเกิดในวัน Vernal Equinox ซึ่งจะบังคับให้พระจันทร์ข้างแรมของเดือน 6 จะเกิดก่อนการเริ่มต้นฤดูฝน

    ข3) วันเพ็ญเดือน 8 เกิดภายใน 11 วันหลังจาก North Solstice ซึ่งจะเกิดก่อนการเริ่มต้นของ heavy rain นี่เป็นเหตุผลที่ย้ายวันอาสาฬหบูชาได้ถูกย้ายไปวันเพ็ญของเดือนถัดไป ในปีนี้จะมีเดือน 8 สองหน เราเรียกว่าปีอธิกมาส ซึ่งเป็นปีที่มี 13 เดือน

    เงื่อนไข (ข1) ทำให้เกิดเงื่อนไข (ข2) เงื่อนไข (ข2) ทำให้เกิด (ข3) ที่ใส่

    เดือน 8 ซ้ำอีกครั้งจะทำให้วันเพ็ญของเดือนที่ 12 ที่กำลังจะมาถึง ไม่เกิดก่อนแสงอาทิตย์ที่ 11.75 S ซึ่งทำให้เงื่อนไข (ก1)-(ก3) เป็นจริง

    เงื่อนไขทั้งหมดข้างต้นขึ้นกับว่าวันเพ็ญและวันดับในปฏิทินสุวรรณภูมิ ตรงกับวันเพ็ญและวันดับบนท้องฟ้าหรือไม่ ดังนั้นจึงมีประเพณีการบูชาวัน เพ็ญเดือน 3,5, 6, 8 และ 12 มาอย่างต่อเนื่องในดินแดนสุวรรณภูมิมาตั้งแต่โบราณกาล เงื่อนไข (ก1)-(ก3) จะขึ้นกับว่าวันเพ็ญและวันดับในปฏิทินสุวรรณภูมิ ตรงกับวันเพ็ญและวันดับบนท้องฟ้าหรือไม่ ดังนั้นจึงมีประเพณีการบูชาวัน เพ็ญเดือน ที่กำลังจะมาถึง
นำเสนอโดย
อาจารย์ อติชาต เกตตะพันธุ์
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีจันทรคติและปีสุริยคติ เดือนพระจันทร์ คือ ระยะระหว่างวันเพ็ญถึงวันเพ็ญถัดไป หรือระยะระหว่างวันดับถึงวัน ดับถัดไป ซึ่งกินเวลา 29.530588 วัน ดังนั้น 12 เดือนจันทรคติคือ 12 x 29.530588 = 354.367056 วัน Equinox เวลาทีพระอาทิตย์ข้ามเส้นศูนย์สูตรจะทำให้ทั่วโลกมีกลางวันและกลางคืนเท่ากัน

ถ้าเกิดในฤดูใบไม้ผลิเรียกว่า Vernal Equinox (21 มีนาคม)

ถ้าเกิดในฤดูใบไม้ร่วงเรียกว่า Autumnal Equinox (22 กันยายน)

ปีสุริยคติ (Solar year) คือ ระยะเวลาที่พระอาทิตย์ใช้ในการเดินทาง (ที่ปรากฏต่อโลก)

ผ่านจาก Vernal Equinox กลับมาที่ Vernal Equinox อีกครั้ง ซึ่งยาว 365.25636 วัน
ความต่างระหว่างปีสุริยคติและปีจันทรคติ คือ

365.25636 - 354.367056 = 10.875143 วันต่อปี

ในรอบ 3 ปี ความต่างจะเป็น 3 x 10.875143 = 32.62549 วัน

ซึ่งมากกว่า 1 เดือน นั่นเป็นเหตุผลทำไมต้องมีการปรับปฏิทินจันทรคติ ตาม ปฏิทินสุริยคติ (ฤดูกาลจตรงตามปฏิทินสุริยคติ)
ปฏิทิน

ปฏิทิน คือ ระบบที่แบ่งเวลาออกเป็นช่วงที่ง่ายต่อการใช้ คือ วัน เดือน และปีบรรดาปฏิทินที่เก่าแก่ที่สุดจะใช้เดือนและปีจันทรคติ (ง่ายต่อการสังเกต) และส่วนใหญ่จะมีการปรับกับปีสุริคติ (ยกเว้นบางปฏิทิน เช่น ปฏิทินฮินดูและปฏิทินจีน ซึ่งจะปรับกับปีดาว)ปฏิทินที่มีการใช้งานอยู่ในชีวิตประจำวันในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริงมีเพียงปฏิทินมุสลิม (Moslem Calendar)

ปฏิทินสุวรรณ ภูมิ


ปัจจุบันมีการใช้อย่างเป็นทางการสำหรับพุทธศาสนาในประเทศไทย และถูกใช้ในพุทธ ศาสนาอย่างไม่เป็นทางการ ในกัมพูชา ลาว พม่า และเมือง Xishuangbanna ในจีน
  • ปฏิทินสุวรรณภูมิใช้เดือนจันทรคติและปีจันทรคติ โดยปรับกับปีสุริยคติ
  • ในเดือนคี่ (เดือน 1, 3, 5, 7, 9, 11) ของปีจะมี 29 วัน - วันขึ้น 1-15 ค่ำ วันแรม 1-14 ค่ำ

    ในเดือนคู่ (เดือน 2, 4, 6, 8, 10, 12) ของปีจะมี 30 วัน - วันขึ้น 1-15 ค่ำ วันแรม 1-15 ค่ำ “เดือนคี่ดับคู่ เดือนคู่ดับคี่”

    วันพระหรือธรรมสวนะ มี 4 ครั้งต่อเดือน คือ ขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และแรมสุดท้ายของเดือน
  • โดยเฉลี่ย แต่ละเดือนจะมี 29.5 วัน ซึ่งสั้นกว่าเดือนจันทรคติจริงเป็นระยะเวลา 29.530588-29.5 = 0.030588 วันต่อเดือนหรือเป็น 0.030588x33 = 1.009404 วันต่อ 33 เดือน

    นี่คือเหตุผลว่าทำไมวันเพ็ญและวันดับส่วนใหญ่ในปฏิทินสุวรรณภูมิถึงได้เกิด ก่อนวันเพ็ญและวันดับบนท้องฟ้า
  • เราได้ใช้สูตรการคำนวณในคัมภีร์สุริยยาส (ถือตามสุรยคติ) ใช้มานานนับพันปี เพื่อมาทำให้การคำนวณถูกต้องมากยิ่งขึ้น
  • ในรอบ 19 ปี 7 ปี จะมี 13 เดือน (ปีที่1, 4, 7, 10, 12, 15, 18) เรียกว่า ปีอธิกมาส  12 ปี จะมี 12 เดือน เรียกว่า ปีปกติมาส  อธิก = เพิ่ม มาส = เดือน ปีอธิมาสจะมีเดือน 8 สองหน โดยนับเดือน 8 หนที่สอง เป็นเดือนแปดหลัก เช่น วันอาสาฬหบูชา สูตรหาปีอธิกมาส คือ 3332332 รอบ 19 ปีนี้ไม่ได้มีเฉพาะในปฏิทินสุวรรณภูมิ
  • ปีปกติมาส มี 2 ประเภท คือ

    * ปกติวาร เดือน 7 มี 29 วันตามปกติ
    * อธิกวาร เดือน 7 มี 30 วัน โดยเพิ่มแรม 15 ค่ำ ()
  • ในปีอธิกวาร ได้เพิ่มเดือนวันในเดือน 7 เพื่อปรับให้วันเพ็ญเดือน 8 ถูกต้อง (ตรงกับวันที่พระจันทร์เต็มดวง) ซึ่งจะทำให้วันเข้าพรรษาถูกต้อง เพราะชาวล้านนาต้องดำนาก่อนเข้าพรรษา ถ้าดำนาหลังเข้าพรรษาสักสองอาทิตย์จะพบว่าเม็ดข้าวจะลีบ สรุปว่าเหตุที่เรา เติมเดือน 8 (ไม่ใช่เดือนอื่น) ก็เพราะเราทำนา
  • ปฏิทินจันทรคติของทุกชาติ รวมทั้งชาวยิว จะมีปีที่มี 13 เดือน แต่วิธีการจะต่างกันขึ้นกับ ความเป็นอยู่
  • จีนและอินเดียจะเทียบปีจันทรคติกับปีดาว เพราะมีพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นละติจูดที่ 23.5 N ทำให้ไม่เห็นพระอาทิตย์ตั้งฉากทุกพื้นที่ ดังนั้นการใช้ดาวสื่อสารกันจึงง่ายกว่า มีแต่สอง ชาตินี้ใช้คนละจักรราศรี ไทยใช้ดาวไม่ได้เพราะมีฤดูฝนถึง 6 เดือน
  • จำนวนวันในแต่ละปีของจีนและอินเดียมีหลากหลายมาก แต่ของไทยนั้นมีไม่กี่แบบ ของ ไทย classic เก่าแก่ โบราณ ของจีนและอินเดียได้พัฒนาโดยใช้ดาวช่วย
  • ปฏิทินจันทรคติของจีนกับอินเดียไม่มีปีอธิกวาร เพราะจีนและอินเดียนับเดือนตรงกับ ความเป็นจริงบนท้องฟ้า แต่ปฏิทินจันทรคติไทยใช้สูตรให้ 1 เดือนมี 29.5 วัน ซึ่งจะขาดไปจากความเป็นจริงเดือนละ 0.030588 วัน เมื่อครบ 33 เดือน (ราว 3 ปี) จะขาดไปประมาณ 1 วัน
  • เดิมสุโขทัยก็ใช้จุลศักราช (ตั้งแต่พ.ศ. 1182) โดยคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาส ซึ่งยังใช้คัมภีร์สุริยาสสำหรับปฏิทินสุริยคติอยู่จนถึงปัจจุบัน เมื่อใช้นานเข้าก็ พบว่าฤดูกาลผิดพลาด ก็มีการปรับกันหลายครั้ง ที่ชัดเจนคือสมัยพญาลิไท มี การปรับฤกษ์ปรับยามวางตำแหน่งดาวใหม่
  • การปรับครั้งที่สอง พระเจ้าประสาททองใช้เสาชิงช้ามาตรวจสอบพระอาทิตย์ และพระจันทร์มีที่กรุงเทพฯ และนครศรีธรรมราช
  • ในสมัยพระนารายณ์มหาราชได้ย้ายวันปีใหม่มาเป็นวันสงกรานต์แต่เดิม เปลี่ยนวันสิ้นปีคือวันลอยกระทง (เพ็ญเดือน 12) และวันปีใหม่คือวันถัดไป
  • รัชกาลที่ 4 ได้จัดทำปฏิทินจันทรคติไทยให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นซึ่งวันเพ็ญ จะถูกต้องยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม ปัจจุบันก็มีใช้ในพระธรรมยุติกาย เช่น วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันปฏิทินจันทรคติไทยก็ยังคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาสเช่นเดิม (รวมสำนักพระราชวังด้วย)
  • คนโบราณใช้พระจันทร์เป็นตัวนัดหมาย

    เพ็ญเดือน 12 ปลายฝนต้นหนาว
    เพ็ญเดือน 3 ปลายหนาวเข้าร้อน
    เพ็ญเดือน 6 ร้อนเข้าฝน
    เพ็ญเดือน 8 เข้าฝนชุก
  • คนสมัยก่อนรู้จักสูตร 3332332 หรือไม่ ?

    ไม่รู้แต่รู้ว่าวันเพ็ญเดือน 12, 3 และ 6 ถือเป็นวันสิ้นสุดฤดูกาล เมื่อถึงเพ็ญ เหล่านั้นแล้วฤดูกาลยังไม่เปลี่ยนก็จะเติมเดือน 8 อีกครั้งเพื่อให้ฤดูกาลถูกต้อง การดูฤดูกาลก็จะดูผลิของดอกไม้เช่น ถ้าดอกปีดอกฉัตรแก้วยังไม่ออกในเพ็ญเดือนแปดก็ให้ เติมเดือนแปด ขมุจะใช้ออกสาบเสือด้วย ส่วนลั๊วะพัฒนาสูงโดยมีหลายดอกให้สังเกต


    การปรับปฏิทินสุวรรณภูมิกับสุรยคติ
  • การปรับปฏิทินสุวรรณภูมินั้นตั้งใจให้แต่ละเดือนอยู่ในฤดูกาลเดียวกันทุกปี นั่นคือ
  • วันสิ้นสุดของเดือนแรก (แรม 14 ค่ำเดือน 1) จะอยู่กลางฤดูหนาว
  • ข้างแรมของเดือน 5 อยู่กลางฤดูร้อน
  • ข้างแรมของเดือน 6 เป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูฝน
  • ข้างแรมของเดือน 8 เป็นวันเริ่มต้นของช่วงฝนชุก
  • ข้างแรมของเดือน 12 เป็นการสิ้นสุดของหน้าฝนและเริ่มต้นฤดูหนาว
    เงื่อนไขข้างต้นจะเกิดขึ้นเมื่อวันเพ็ญและวันดับเกิดสอดคล้องกับเงื่อนไขต่อไปนี้

    ก1) วันดับของเดือน (วันสุดท้ายของเดือน) ของเดือนแรก จะเป็นวันดับเดือนแรก หลัง South Solstice (22 ธันวาคม)

    ก2) วันดับของเดือนที่ 4 ต้องเป็นวันดับหลังจาก Vernal Equinox (21 มีนาคม)

    ก3) วันเพ็ญเดือน 8 ต้องเป็นวันเพ็ญแรกหลัง North Solstice และต้องเกิดหลังจาก

    North Solstice อย่างน้อย 11 วัน (หลัง 2 กรกฎาคม)

    South Solstice คือ วันที่แสงพระอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นผิวโลกที่ tropic of Cancer 23.5 S
    North Solstice คือ วันที่แสงพระอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นผิวโลกที่ tropic of Cancer 23.5 S
  • สัญญาณที่บอกล่วงหน้าว่าเงื่อนไขดังกล่าวจะขัดแย้งในบางปีก็คือ

    ข1) วันเพ็ญเดือน 12 เกิดก่อนวันที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากที่ 11.75 S (ก่อน 9 พฤศจิกายน)

    ข2) วันดับของเดือน 4 เกิดก่อนหรือเกิดในวัน Vernal Equinox ซึ่งจะบังคับให้พระจันทร์ข้างแรมของเดือน 6 จะเกิดก่อนการเริ่มต้นฤดูฝน

    ข3) วันเพ็ญเดือน 8 เกิดภายใน 11 วันหลังจาก North Solstice ซึ่งจะเกิดก่อนการเริ่มต้นของ heavy rain นี่เป็นเหตุผลที่ย้ายวันอาสาฬหบูชาได้ถูกย้ายไปวันเพ็ญของเดือนถัดไป ในปีนี้จะมีเดือน 8 สองหน เราเรียกว่าปีอธิกมาส ซึ่งเป็นปีที่มี 13 เดือน

    เงื่อนไข (ข1) ทำให้เกิดเงื่อนไข (ข2) เงื่อนไข (ข2) ทำให้เกิด (ข3) ที่ใส่

    เดือน 8 ซ้ำอีกครั้งจะทำให้วันเพ็ญของเดือนที่ 12 ที่กำลังจะมาถึง ไม่เกิดก่อนแสงอาทิตย์ที่ 11.75 S ซึ่งทำให้เงื่อนไข (ก1)-(ก3) เป็นจริง

    เงื่อนไขทั้งหมดข้างต้นขึ้นกับว่าวันเพ็ญและวันดับในปฏิทินสุวรรณภูมิ ตรงกับวันเพ็ญและวันดับบนท้องฟ้าหรือไม่ ดังนั้นจึงมีประเพณีการบูชาวัน เพ็ญเดือน 3,5, 6, 8 และ 12 มาอย่างต่อเนื่องในดินแดนสุวรรณภูมิมาตั้งแต่โบราณกาล เงื่อนไข (ก1)-(ก3) จะขึ้นกับว่าวันเพ็ญและวันดับในปฏิทินสุวรรณภูมิ ตรงกับวันเพ็ญและวันดับบนท้องฟ้าหรือไม่ ดังนั้นจึงมีประเพณีการบูชาวัน เพ็ญเดือน ที่กำลังจะมาถึง
นำเสนอโดย
อาจารย์ อติชาต เกตตะพันธุ์
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น